เคล็ดลับปกป้อง
ข้อมูล คำแนะนำ และเคล็ดลับการดูแลสุนัขจากสัตวแพทย์ เพื่อช่วยให้คุณดูแลสุนัขแสนรักให้สุขภาพแข็งแรง มีความสุข และอยู่กับคุณไปนานๆ

บทความล่าสุด
-
ไขข้อสงสัย “ถ่ายพยาธิแล้ว ยังจำเป็นต้องป้องกันปรสิตอยู่ไหม ?”
อ่านต่อ ‣: ไขข้อสงสัย “ถ่ายพยาธิแล้ว ยังจำเป็นต้องป้องกันปรสิตอยู่ไหม ?”“น้องหมาถ่ายพยาธิเป็นประจำอยู่แล้ว แบบนี้ยังจำเป็นต้องป้องกันปรสิตอยู่หรือเปล่า ?” 🤔📍 ขอตอบเลยว่า “จำเป็น” (อย่างมากกกก!) เพราะ ✅ ปรสิตไม่ได้มีแค่พยาธิ แต่ยังมีปรสิตภายนอกและพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งยาถ่ายพยาธิไม่สามารถป้องกันได้ ! ✅ถึงแม้น้องหมาจะกินยาถ่ายพยาธิเป็นประจำ แต่ยาถ่ายพยาธิสามารถช่วยป้องกันได้เพียงพยาธิในระบบทางเดินอาหารเพียงเท่านั้น แต่ในโลกความเป็นจริงยังมีปรสิตภายนอก ไม่ว่าจะเป็น หมัด เห็บ หรือแม้กระทั่งพยาธิหนอนหัวใจที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งยาถ่ายพยาธิไม่สามารถป้องกันได้ (ปรสิตเหล่านี้สามารถพบเจอได้บ่อยไม่แพ้พยาธิในระบบทางเดินอาหารเลยทีเดียว)นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าการถ่ายพยาธิ 3 เดือนต่อ 1 ครั้ง เป็นแนวทางที่สัตวแพทย์แนะนำให้เจ้าของทุกท่านปฏิบัติตาม แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถมอบการปกป้องอย่างต่อเนื่องให้กับน้องหมาได้เป็นประจำทุกเดือนด้วยการเสริมเกราะป้องกันให้ครอบคลุมถึง 3 ชั้นอยู่เสมอ ทั้งเกราะป้องกันจากปรสิตภายนอก เช่น หมัด เห็บ เกราะป้องกันพยาธิภายใน เช่น พยาธิในระบบทางเดินอาหาร และเกราะป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งมียุงเป็นพาหะ ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสการได้รับปรสิตเข้าสู่ร่างกาย และก่อให้เกิดอันตรายกับน้องหมานั่นเองเพราะการป้องกันไว้อยู่เสมอ ย่อมดีกว่าการตามมารักษาในภายหลังอย่างแน่นอน 😁 ถึงจะถ่ายพยาธิให้น้องหมาเป็นประจำ แต่ก็ยังจำเป็นต้องป้องกันปรสิตอยู่เสมอ !รักน้องหมา อยากให้น้องหมามีสุขภาพดีปลอดภัยจากปรสิต อย่าลืมเสริมเกราะป้องกันให้น้อง ๆ ตั้งแต่วันนี้ ! 🧡🐶 ดูแลน้องหมาของคุณให้ปลอดภัยไร้ปรสิต ด้วย Super TRIO…
-
ไม่อยากเป็นหนี้ ต้องหนีโรคนี้ให้พ้น !
อ่านต่อ ‣: ไม่อยากเป็นหนี้ ต้องหนีโรคนี้ให้พ้น !3 โรคร้ายในน้องหมาที่ค่ารักษาแพ๊งแพงง คุณรู้หรือไม่ ? ถึงน้องหมาจะตัวเล็กกว่าคนเรา แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อน้องหมาป่วยแล้วค่ารักษาจะเล็กลงตามตัว 😱เพราะอุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการสัตวแพทย์ส่วนใหญ่ที่ใช้ ล้วนมีราคาไม่ได้ถูกไปกว่าเครื่องมือการแพทย์ที่ใช้สำหรับมนุษย์เลยล่ะ 💸เปิดโพย 3 โรคร้ายที่เลี่ยงได้ให้เลี่ยง เพราะบอกเลยว่าค่ารักษาอาจแพงกว่าที่หลายคนคาดคิด จะมีอะไรบ้างไปดูกัน ! 💵 1. โรคหัวใจและโรคไต 🧡นับเป็นโรคยอดฮิตสำหรับน้องหมาสูงอายุ เพราะหัวใจและไตเป็นอวัยวะที่มีการทำงานตลอดเวลา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัยทั้งจากเรื่องอาหารการกิน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาน้องหมาที่ป่วยด้วยโรคนี้จะเน้นไปที่ยารักษาโรคซึ่งจำเป็นต้องให้กินตลอดชีวิต (เพราะหากไม่ได้รับยา โรคอาจแย่ลงอย่างรวดเร็ว) อีกทั้งโรคนี้เป็นโรคซึ่งเกิดจากความเสื่อม และไม่สามารถรักษาให้หายขาด การดูแลอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งน้องหมาที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและไตยังจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนอาหารมากินอาหารสูตรสำหรับการรักษาโรคโดยเฉพาะ เนื่องจากอาหารส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินไปของโรค นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายจิปาถะ เช่น การตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบอกได้เลยว่ารวม ๆ แล้ว ไม่น้อยเลยทีเดียว 💵 2. โรคนิ่ว 🚽นิ่วในน้องหมามีหลายชนิด ทั้งแบบที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด และไม่จำเป็นต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตามโรคนิ่วเป็นโรคที่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้เรื่อย ๆ และปัจจัยด้านอาหารมีผลต่อการเกิดนิ่วเป็นอย่างมาก การดูแลรักษาน้องหมาที่ป่วยด้วยโรคนิ่ว เจ้าของจึงจำเป็นต้องเตรียมค่าใช้จ่ายทั้งในเรื่องยารักษา การผ่าตัด (กรณีที่จำเป็น) และค่าอาหารประกอบการรักษาโรค ตลอดจนการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที น้องหมาอาจเกิดภาวะปัสสาวะไม่ออก และเกิดการพัฒนาเป็นภาวะไตวายตามมาได้อีกด้วย 💵 3. โรคเบาหวาน…
-
“ไอ” แบบนี้ไม่น่าเลิฟเลยยูวว
อ่านต่อ ‣: “ไอ” แบบนี้ไม่น่าเลิฟเลยยูววรู้หรือไม่ ? อาการไอของน้องหมาบอกโรคได้ ! แค่ก แค่ก แค่ก~~เห็นน้องหมาไอบ่อย ๆ อย่าเพิ่งมองผ่าน ! เพราะอาการไอของน้องหมาก็สามารถบอกโรคร้ายได้ 🐶อาการไอของน้องหมามีกี่แบบ และแต่ละแบบจะสามารถบอกโรคร้ายอะไรได้บ้าง ไปดูกัน ! 🤧 ไอแห้ง ไม่มีเสมหะอาการไอแห้ง คืออาการไอแบบที่ไม่มีเสมหะ หรือของเหลวปะปนอยู่ในลำคอ เป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะทางเดินหายใจส่วนต้น อาจเกิดขึ้นจากการเกิดภาวะหลอดลมอักเสบ หรือได้รับการกระตุ้นจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การมีสิ่งแปลกปลอมติดคอ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในอาการที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคหัวใจในน้องหมา ทั้งโรคหัวใจที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจเสื่อม โรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือแม้กระทั่งโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว ตลอดจนโรคหัวใจที่มีสาเหตุมาจากปรสิต เช่น โรคพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งน้องหมาได้รับเชื้อมาจากการถูกยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคกัด โดยอาการไอในลักษณะดังกล่าว เกิดขึ้นจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการขนาดตัว และกดทับศูนย์ควบคุมการไอที่บริเวณหลอดลม จนกระตุ้นให้เกิดอาการไอตามมานั่นเอง อย่างไรก็ตามหากน้องหมาแสดงอาการไอแห้ง ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และพาน้องหมามารับการตรวจจากสัตวแพทย์โดยละเอียดต่อไป 🤧 ไอแบบมีเสมหะอาการไอแบบมีเสมหะ คืออาการไอแบบที่มีเสมหะ หรือของเหลวปะปนอยู่ในลำคอ เป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะทางเดินหายใจส่วนปลาย มักมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อทั้งเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างสารคัดหลั่ง และหลั่งของเหลวออกมาทางระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้น โดยลักษณะของน้ำมูก หรือเสมหะที่พบอาจมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของเชื้อที่ร่างกายน้องหมา…
-
เลี้ยงน้องหมาในบ้าน ยังจำเป็นต้องป้องกันปรสิต
“การป้องกัน ย่อมดีกว่าการรักษา” ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้จะเลี้ยงน้องหมาแค่ภายในบ้าน แต่น้องหมาก็ยัง “จำเป็น” ต้องป้องกันปรสิต3 เหตุผลที่ถึงแม้จะเลี้ยงน้องหมาแค่ภายในบ้าน แต่ก็ยังจำเป็นต้องป้องกันปรสิต ได้แก่ 1. ปรสิตสามารถติดมากับเจ้าของได้ 👫🏻ไม่ว่าจะเห็บ หมัด หรือไข่ของพยาธิในระบบทางเดินอาหาร ปรสิตร้ายเหล่านี้สามารถติดมากับเจ้าของได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะติดมากับเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า หรือแม้กระทั่งบนร่างกายของเจ้าของเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของท่านไหนที่มักเดินทางไปในบริเวณที่มีความสกปรก บริเวณที่เป็นพื้นดิน หรือบริเวณที่มีน้องหมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นถึงแม้จะเลี้ยงน้องหมาให้อยู่แค่ภายในบ้าน แต่ปรสิตร้ายก็อาจเข้ามารุกรานน้องหมาได้ทุกเมื่อ ทางที่ดีอย่าลืมเสริมเกราะป้องกันให้ครบทั้ง 3 ชั้น เพื่อปกป้องน้องหมาจากพยาธิหนอนหัวใจ เห็บ หมัด และพยาธิทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถติดได้ง่าย และพบเจอได้บ่อย ป้องกันไว้ก่อนย่อมดีที่สุด ! 2. ปรสิตอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน 🌴ความน่ากลัวของปรสิตไม่หยุดเพียงแค่สามารถติดต่อได้ง่าย แต่พวกมันยังมีความคงทน สามารถอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานาน เช่น เห็บสามารถคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง 2 ปี (โดยในระหว่าง 2 ปีนี้ เห็บเพศเมียจะสามารถออกไข่ได้สูงสุดถึง 4,000 ฟอง !) หมัดสามารถคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง 6 เดือน (แถมในระหว่าง 6 เดือนนี้ หมัดเพศเมียยังสามารถออกไข่ได้มากถึงวันละ 50…
-
เพราะโรคพยาธิหนอนหัวใจ คือหนึ่งโรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิต
หากน้องหมาป่วยด้วยโรคหัวใจสามารถทำการรักษาอย่างไรได้บ้าง ไปดูกัน ! 💉 รักษาโดยการให้ยาmน้องหมาที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจสามารถทำการรักษาได้ด้วยการกินยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่แอบแฝงมากับพยาธิหนอนหัวใจ ร่วมกับการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบั้นเอวเพื่อช่วยในการกำจัดพยาธิหนอนหัวใจตัวเต็มวัยอย่างช้า ๆ ซึ่งการรักษานี้จำเป็นต้องให้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน (ประมาณ 90 วัน) อีกทั้งตัวยาที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อยังก่อให้เกิดความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก (มากจนคุณหมอต้องให้ยาแก้ปวดควบคู่ไปด้วยทุกครั้งเลยล่ะ) แถมในระหว่างการรักษายังจำเป็นต้องจำกัดบริเวณน้องหมา ด้วยการขังกรง หรือควบคุมให้น้องหมาเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพื่อลดโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันอีกด้วย เรียกได้ว่าทรมานทั้งเจ้าของที่ต้องดูแลอย่างเข้มงวด ทรมานทั้งน้องหมาที่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก และแสนเจ็บปวดเลยทีเดียว 🩸 รักษาโดยการผ่าตัดสำหรับน้องหมาที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจขั้นรุนแรง หรือเกิดภาวะพยาธิหนอนหัวใจอุดตัน (caval syndrome) คุณหมออาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อเอาพยาธิหนอนหัวใจออกจากร่างกาย ทั้งนี้การผ่าตัดดังกล่าวนับว่ามีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก เพราะร่างกายน้องหมาจะอ่อนแอ และด้วยระบบหมุนเวียนเลือดที่มีปัญหาย่อมส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการวางยาสลบมีมากขึ้น ซึ่งนั่นหมายความว่าน้องหมาอาจเสียชีวิตในระหว่างขั้นตอนการรักษาได้ทุกเมื่อ ดังนั้นหากจำเป็นต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด คุณหมอจะแจ้งความเสี่ยงดังกล่าวให้กับเจ้าของ และตัดสินใจวางแผนการรักษาร่วมกันต่อไป 🧡 เสริมการป้องกันด้วยโปรแกรมปกป้องจาก Super TRIOโปรแกรมปกป้องจาก Super TRIO จะช่วยเสริมเกราะป้องกันให้กับน้องหมา ช่วยให้น้องหมาปลอดภัยจากพยาธิหนอนหัวใจ ปรสิตร้ายที่อันตรายถึงชีวิต สามารถให้ได้ในระหว่างที่น้องหมากำลังทำการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจ ด้วยฤทธิ์ในการกำจัดตัวอ่อนของพยาธิจะช่วยให้พยาธิหนอนหัวใจไม่เกิดการเพิ่มจำนวน อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสในการพัฒนาของตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัยได้อีกด้วย และเมื่อน้องหมาหายจากโรคพยาธิหนอนหัวใจแล้ว Super TRIO จะช่วยปกป้องน้องหมาจากพยาธิหนอนหัวใจตัวใหม่ที่เข้ามาพร้อมกับการโดนยุงกัด หมดกังวลว่าน้องหมาจะกลับไปเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจซ้ำได้เลย ! รักน้องหมา อย่าปล่อยให้น้องหมาต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคพยาธิหนอนหัวใจ เสริมเกราะป้องกันให้น้อง ๆ…
-
ไปโรงบาลก็นั่งชิลได้ !
Passion Cafeร้านกาแฟ Pet Friendly สำหรับคนรักน้องหมา น้องแมว เปิดโลกใหม่กับการพาน้องหมา น้องแมวไปนั่งชิลที่(คาเฟ่)ในโรงพยาบาลสัตว์ กับ Passion Cafe ! 🥳คาเฟ่เปิดใหม่ภายในโรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน ที่มีจุดเด่นทั้ง ✅ คาเฟ่ Pet Friendly ที่เจ้าของสามารถพาน้องหมา น้องแมวมานั่งชิลพักผ่อนได้ตลอดทั้งวัน 🐶 🐱 ✅ บรรยากาศภายในตกแต่งด้วยดอกไม้ ต้นไม้หลากหหลายสีสันที่ลงตัว ให้บรรยากาศแบบสวนดอกไม้ สายรักธรรมชาติห้ามพลาด ! 🌸 ✅ ให้บริการทั้งกาแฟสด เครื่องดื่ม เบเกอรี่ และอาหารจานเดียว อีกทั้งยังมีอาหารและขนมน้องหมาและน้องแมวให้บริการอีกด้วย ☕️🥐🍛 ถึงแม้จะไม่ได้พาน้องหมา น้องแมวมารักษาก็สามารถมานั่งเล่น นั่งชิลได้ ตอบโจทย์สายคาเฟ่สุด ๆ 😍รู้แบบนี้อย่ารอช้า ไปนั่งจิบกาแฟ พาน้องหมา น้องแมวมานั่งชิลกันได้เลยยย ❤️ 🗓 ร้านเปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 19.00 น.☎️ เบอร์โทรศัพท์ :…
-
How to พาน้องหมา น้องแมวไปฉีดวัคซีน
เพราะเรารู้ว่าการเป็นคุณพ่อ คุณแม่ (สำหรับน้องหมา น้องแมว) มือใหม่ มีเรื่องให้น่าปวดหัวมากแค่ไหน 😂โดยเฉพาะขั้นตอนการพาน้องหมา น้องแมวไปฉีดวัคซีนที่ดูเหมือนจะง่าย แต่ก็จริง ๆ แล้วก็มีรายละเอียดให้ใส่ใจ (แถมยังมองข้ามไม่ได้) 🤔ในวันนี้ เราจะมาเผยขั้นตอนแบบละเอียด(ยิบ) สำหรับการพาน้องหมา น้องแมวไปรับการฉีดวัคซีนกับคุณหมอ จะมีขั้นตอนอะไรบ้าง ไปดูกัน ! 1. เตรียมพร้อมก่อนออกจากบ้าน 🏠ก่อนพาน้องหมา น้องแมวออกจากบ้านเพื่อไปฉีดวัคซีน อย่าลืมเตรียมสายจูงสำหรับน้องหมา หรือตะกร้าสำหรับใส่น้องแมวให้พร้อม และจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญ เช่น อายุ โรคประจำตัว ประวัติการรักษา และที่สำคัญอย่าลืมสังเกตความผิดปกติ หรือความเจ็บป่วยที่น้องหมากำลังเป็น (อาจสังเกตจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป) เพราะหากน้องหมากำลังเจ็บป่วย สัตวแพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษาจนหายดีก่อน แล้วจึงวางแผนการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา เช่น น้องหมามีอาการป่วยที่แย่ลง หรือการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เป็นต้น 2. แจ้งเจ้าหน้าที่ 👩🏻⚕️เมื่อเดินทางมาถึงโรงพยาบาล หรือคลินิก เจ้าของสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับการฉีดวัคซีน (หรือยื่นใบนัด กรณีมารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น) และแจ้งประวัติสุขภาพเบื้องต้นเพื่อรอพบคุณหมอได้เลย ! 3. รับการตรวจ และฉีดวัคซีนกับคุณหมอ 👨🏻⚕️เมื่อคุณพยาบาลเรียกเข้าห้องตรวจ คราวนี้ก็ถึงเวลาฉีดวัคซีนกันแล้ว !…
-
แจกโพยวัคซีนฉบับอัพเดต !
ใครกำลังมองหาโปรแกรมวัคซีนสำหรับน้องหมา น้องแมวอยู่บ้าง ยกมือขึ้น ! 🙋🏻♂️2023 นี้ ต้องพาน้องหมา น้องแมวไปฉีดวัคซีนอะไรบ้างไปดูกันเลย 🥳 🐶 โปรแกรมวัคซีนสำหรับน้องหมา🗓 อายุ 8 สัปดาห์ (2 เดือน) : วัคซีนรวมเข็มแรก🗓 อายุ 12 สัปดาห์ (3 เดือน) : วัคซีนรวมเข็มที่สอง วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรก🗓 อายุ 16 สัปดาห์ (4 เดือน) : วัคซีนรวมเข็มที่สาม วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มที่สอง🗓 ทุกปี : วัคซีนรวม และวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มกระตุ้น* วัคซีนรวมสำหรับน้องหมาสามารถป้องกันโรคร้ายได้ 5 โรค ได้แก่ โรคไข้หัดสุนัข โรคตับอักเสบ โรคลำไส้อักเสบ โรคหวัดและหลอดมลมอักเสบ และโรคฉี่หนู** โปรแกรมวัคซีนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค การระบาดของโรคในพื้นที่ สุขภาพของน้องหมา และการเลี้ยงดูจากเจ้าของ 🐱 โปรแกรมวัคซีนสำหรับน้องแมว🗓 อายุ 8 สัปดาห์ (2…
-
สร้างภูมิปลอดภัย ป้องกันโรคร้ายด้วยวัคซีน
เพราะเชื้อโรคร้ายอยู่รายล้อมรอบตัวน้องหมา น้องแมว และพวกมันอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการป่วยได้ทุกเมื่อการพาน้องหมา น้องแมวไปรับการฉีดวัคซีนจากสัตวแพทย์จึงเป็นหนึ่งในการดูแลที่เจ้าของควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้น้องหมา น้องแมวมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้นได้มากขึ้น !3 เรื่องที่เจ้าของควรรู้ก่อนพาน้องหมา น้องแมวไปฉีดวัคซีน มีดังนี้ ✅ 1. เริ่มเข็มแรกที่ 2 เดือน !เมื่อน้องหมา น้องแมวมีอายุได้ 8 สัปดาห์ หรือประมาณ 2 เดือน เจ้าของควรพาน้องหมา น้องแมวไปรับการตรวจร่างกาย และเริ่มโปรแกรมวัคซีนเข็มแรกเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพวกเขา เพราะช่วงอายุนี้เป็นช่วงอายุที่ระดับภูมิคุ้มกันที่น้อง ๆ ได้รับจากแม่เริ่มลดน้อยลง และเป็นช่วงที่พวกเขามีโอกาสในการติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อมค่อนข้างสูง การได้รับวัคซีนจะช่วยให้ร่างกายของน้องหมา น้องแมวเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตัวเอง และสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคร้าย ป้องกันอาการป่วยจากการติดเชื้อได้ ! ✅ 2. วัคซีนหลักต้องทำให้ครบ !โดยปกติสัตวแพทย์จะทำการแบ่งประเภทของวัคซีนออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ วัคซีนหลัก (แนะนำให้ฉีดในน้องหมา น้องแมวทุกตัว) และวัคซีนทางเลือก (แนะนำให้ฉีดในน้องหมา น้องแมวที่มีความเสี่ยงต่อโรคนั้น ๆ สูง) โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้🐶 วัคซีนหลักในน้องหมา ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หัดสุนัข…
-
3 เคล็ดไม่ลับ ดูแลน้องหมาช่วงหน้าฝน
🌧 ฝนตกแบบนี้ ควรดูแลน้องหมาอย่างไรไปดูกัน ! ✅ เช็ดตัวให้แห้ง อย่าปล่อยให้ขนน้องหมาเปียกชื้นฝนตก น้องหมาเปียก อย่าลืมพาพวกเขาไปเช็ดตัว และเป่าลมให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นซอกหลืบ และก่อให้เกิดการอับชื้นได้ง่าย เช่น ง่ามขา ซอกหู หรือแม้กระทั่งง่ามเท้าทั้งสี่ข้าง เพราะความชื้นเป็นสาเหตุของการสะสมของเชื้อรา และยีสต์ซึ่งมักก่อให้เกิดอาการคันในน้องหมา โดยหากน้องหมามีเชื้อรา หรือยีสต์สะสมบนร่างกาย พวกเขาจะมีอาการคันมาก เกา หรือเลียบริเวณที่คันบ่อย อีกทั้งยังมีกลิ่นเหม็นบนร่างกาย เรียกได้ว่าทรมานทั้งคนเลี้ยง ทรมานทั้งน้องหมาเลยล่ะ หากน้องหมาแสดงอาการป่วยเหล่านี้ ควรรีบพาน้องไปรับการรักษาจากสัตวแพทย์โดยด่วน ✅ ระบายอากาศ อย่าปล่อยให้ห้องอับชื้นฝนตกย่อมคู่กับอากาศชื้น แต่คุณรู้หรือไม่ ? อากาศชื้นไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความไม่สบายตัว แต่ยังเพิ่มโอกาสในการเพิ่มขึ้นของเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย โดยเชื้อเหล่านี้จะส่งผลให้น้องหมาป่วยด้วยโรคหวัด และโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ซึ่งสามารถแพร่ระบาดไปมาระหว่างกันในน้องหมาได้ (บ้านไหนที่เลี้ยงน้องหมาร่วมกันหลายตัว ต้องระวังการแพร่ระบาดของโรคเหล่านี้ในหน้าฝนให้ดีเลยล่ะ) โดยอาการที่สามารถสังเกตได้มีตั้งแต่อาการไอแบบมีเสมหะ มีน้ำมูกไหล ไปจนถึงมีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ในรายที่รุนแรงอาจถึงขั้นเกิดภาวะปอดบวม และเสียชีวิตได้เลยทีเดียว แต่ไม่ต้องกังวลไป ! เพราะโรคหวัดสามารถป้องกันได้เพียงการพาน้องหมาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นประจำทุกปี (วัคซีนรวมที่น้องหมาฉีดจะช่วยให้น้องหมามีภูมิคุ้มกันต่อโรคหวัดและหลอดลมอักเสบติดต่อได้นั่นเอง) ดังนั้นหน้าฝนแบบนี้อย่าลืมเปิดพัดลมระบายอากาศ เพื่อไม่ปล่อยให้ห้องอับชื้น และพาน้องหมาไปฉีดวัคซีนกันด้วยนะ…
-
น้องหมาวัยเด็กควรเริ่มป้องกันปรสิตตั้งแต่อายุเท่าไร ?
🤔 หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังสงสัยว่า “น้องหมาวัยเด็กควรเริ่มป้องกันปรสิตตั้งแต่อายุเท่าไร ?” วันนี้เรามีคำตอบ ! 🤩 ✅ เริ่มทันทีตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ : ปรสิตร้ายต้องเริ่มป้องกันตั้งแต่แม่น้องหมากำลังตั้งท้อง เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่แม่น้องหมามีความอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการติดปรสิตเป็นอย่างมาก แถมปรสิตกลุ่มพยาธิภายในบางชนิด เช่น พยาธิตัวกลม และพยาธิปากขอยังสามารถติดต่อจากแม่ไปสู่ลูกได้อีกด้วย ทั้งนี้โปรแกรมปกป้องที่เลือกใช้ควรเลือกชนิดที่สามารถใช้ได้ในแม่สุนัขตั้งท้อง เช่น ยาหยดหลังที่ช่วยปกป้องน้องหมาจากหมัด เห็บ ไร และพยาธิหนอนหัวใจ โดยควรให้ควบคู่ไปกับการถ่ายพยาธิเป็นประจำ เพื่อเสริมการปกป้องน้องหมาให้ครอบคลุมถึงพยาธิภายในด้วยนั่นเองตั้งแต่น้องหมาลืมตาดูโลก : ดูแลรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมที่น้องหมาอยู่อาศัยเพื่อลดโอกาสการได้รับไข่พยาธิ การโดนเห็บ หมัดรุกราน หรือการโดนยุงซึ่งเป็นพาหะของพยาธิหนอนหัวใจกัด เพราะสิ่งแวดล้อมที่สะอาด และปลอดภัยย่อมทำให้น้องหมาปลอดภัยจากปรสิตร้ายที่อันตรายถึงชีวิตมากยิ่งขึ้น ✅ เริ่มเมื่อน้องหมาอายุ 3 สัปดาห์เมื่อน้องหมาอายุครบ 3 สัปดาห์ สามารถพาน้องหมาไปรับโปรแกรมการถ่ายพยาธิจากสัตวแพทย์ใกล้บ้าน พร้อมรับคำแนะนำในการดูแลอย่างเหมาะสม โดยหลังจากเริ่มการถ่ายพยาธิครั้งแรกแล้วจึงพาน้องหมามารับการถ่ายพยาธิซ้ำอีกทุก ๆ 2 สัปดาห์ จนน้องหมาอายุครบ 8-10 สัปดาห์ หลังจากนั้นควรพาน้องหมามาถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก 3-4 เดือน (ความถี่ที่สัตวแพทย์แนะนำขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการได้รับพยาธิจากสิ่งแวดล้อมของน้องหมาตัวนั้น ๆ) พร้อมทั้งเสริมเกราะป้องกันพยาธิภายในให้กับน้องหมาเป็นประจำทุกเดือน เพื่อป้องกันการติดพยาธิในระบบทางเดินอาหารกลุ่มพยาธิตัวกลม และปากขอ เพื่อลดโอกาสการสะสมของพยาธิภายในร่างกาย ✅ เริ่มเมื่อน้องหมาอายุ 8…