, ,

ตรวจคัดกรองโรคพยาธิหนอนหัวใจ ทำได้อย่างไรบ้าง ?


ไหนชีวิตนี้ใครไม่เคยโดนยุงกัดเลย ยกมือขึ้น !
ไม่มีเลยใช่ไหม นั่นก็เพราะยุงร้ายสามารถเล็ดลอดมากัดเราได้ทุกเมื่อ ถึงแม้จะพยายามหนีแค่ไหนก็ยากที่จะหนีพ้น
น้องหมาเองก็เช่นกัน นี่เองจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรพาน้องหมาไปตรวจคัดกรองโรคพยาธิหนอนหัวใจอยู่เสมอ
การตรวจคัดกรองพยาธิหนอนหัวใจสามารถทำได้เมื่อไร และตรวจด้วยวิธีไหนได้บ้าง ไปดูกัน !

ทำไมเราจึงควรพาน้องหมาไปตรวจคัดกรองโรคพยาธิหนอนหัวใจ ?
เพราะโรคพยาธิหนอนหัวใจสามารถเกิดขึ้นได้กับน้องหมาทุกตัว เพียงการโดนยุงกัดแค่ครั้งเดียวก็สามารถทำให้น้องหมาติดโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นเขตที่พบการแพร่ระบาดของโรคอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่มีทุ่งหญ้า และแหล่งน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีของยุง ดังนั้นการพาน้องหมาไปตรวจคัดกรองโรคจะเป็นการช่วยให้เราสามารถทำการรักษาน้องหมาได้อย่างทันท่วงที และเป็นการลดโอกาสการเกิดอาการรุนแรงในน้องหมาที่ป่วยได้นั่นเอง

ช่วงอายุที่ควรตรวจคัดกรองโรคพยาธิหนอนหัวใจในน้องหมา คือ ?
ตามคำแนะนำของ American Heartworm Society (AHS) หน่วยงานระดับโลกที่ทำหน้าที่ออกแนวทางการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจให้แก่สัตวแพทย์ แนะนำว่าน้องหมาที่มีอายุมากกว่า 7 เดือนเป็นต้นไปควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคพยาธิหนอนหัวใจ และควรทำการตรวจซ้ำเป็นประจำทุกปีเพื่อสามารถดูแล และรักษาได้อย่างทันท่วงที

วิธีการตรวจมีกี่วิธีกันนะ ?
การตรวจคัดกรองโรคพยาธิหนอนหัวใจสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การใช้ชุดตรวจเลือด : การใช้ชุดตรวจเลือดเป็นหนึ่งในวิธียอดนิยมที่สัตวแพทย์มักเลือกใช้ โดยชุดตรวจจะตรวจหาแอนติเจน หรือสารที่บ่งบอกว่าร่างกายมีพยาธิอยู่ภายใน
2. การส่องกล้องหาพยาธิในเลือด : เป็นการตรวจที่ให้ผลดี เห็นการติดพยาธิหนอนหัวใจได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถตรวจหาตัวอ่อนภายในร่างกายอีกด้วย
3. การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหา DNA ของพยาธิหนอนหัวใจ : เป็นการตรวจที่สามารถตรวจหาทั้งตัวเต็มวัย และตัวอ่อนภายในร่างกายน้องหมาได้ นอกจากนี้ยังมีความแม่นยำสูงอีกด้วย
4. การฉายภาพรังสี และการอัลตราซาวด์ : การฉายภาพรังสี หรือที่หลายคนคุ้นเคยว่าการ x-ray และการอัลตราซาวด์สามารถใช้ตรวจหาการอุดตันของพยาธิหนอนหัวใจบริเวณหัวใจ และปอดได้
5. การผ่าตรวจภายใน : การผ่าตรวจภายในสามารถช่วยให้คุณหมอได้เห็นตัวเต็มวัยของพยาธิหนอนหัวใจภายในร่างกายได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก และยากต่อการปฏิบัติจริง โดยเฉพาะในน้องหมาที่มีอาการไม่ดี หรืออายุเยอะ

ตรวจแล้วควรทำอย่างไรต่อ ?
หากตรวจพบว่าเกิดการติดพยาธิหนอนหัวใจ : ควรเริ่มต้นทำการรักษาในทันที โดยสัตวแพทย์จะจ่ายยาเพื่อค่อย ๆ กำจัดพยาธิหนอนหัวใจอย่างช้า ๆ ในบางรายอาจจำเป็นต้องกักบริเวณชั่วคราวเพื่องดการทำกิจกรรมที่กระตุ้นให้หัวใจมีการสูบฉีดเลือดสูง เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน หรือภาวะพยาธิหนอนหัวใจอุดตัน และเริ่มต้นการใช้โปรแกรมปกป้องน้องหมาจากพยาธิหนอนหัวใจ (อ๊ะ อ๊ะ อย่าลืมเลือกโปรแกรมปกป้องที่สามารถให้ได้ในน้องหมาที่กำลังป่วย เพื่อป้องกันการตายของพยาธิอย่างกระทันหัน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการอุดตัน และการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันในน้องหมาด้วยล่ะ สามารถสอบถามสัตวแพทย์เพิ่มเติมถึงโปรแกรมปกป้องที่เหมาะสมได้เลย)
หากตรวจไม่พบการติดพยาธิหนอนหัวใจ : อย่าเพิ่งเบาใจไปล่ะ เพราะพยาธิหนอนหัวใจสามารถติดได้ง่าย ๆ เพียงแค่การโดนยุงกัดแค่ครั้งเดียว อย่าลืมปกป้องน้องหมาให้ห่างไกลจากยุง และใช้โปรแกรมปกป้องน้องหมาจากปรสิตตัวร้าย โดยเฉพาะพยาธิหนอนหัวใจเป็นประจำทุกเดือน

อยากให้น้องหมาปลอดภัยจากโรคพยาธิหนอนหัวใจ อย่าลืมพาน้องหมาไปตรวจคัดกรองโรคพยาธิหนอนหัวใจเป็นประจำทุกปี !
ดูแลน้องหมาของคุณให้สบายใจไร้ปรสิต ด้วย Super TRIO โปรแกรมปกป้องน้องหมาจากปรสิตร้ายที่สัตวแพทย์แนะนำเป็นประจำทุกเดือน ป้องกันปรสิตร้ายที่อันตรายถึงชีวิต ได้แก่ พยาธิหนอนหัวใจ หมัด เห็บ และพยาธิทางเดินอาหาร (แถมยังสามารถใช้ในรายที่พบการติดพยาธิหนอนหัวใจแล้วได้ด้วยนะ)

📍สร้างเกราะป้องกันตั้งแต่วันนี้ กับเราได้ที่

#SuperTRIO #ปลุกพลัง3ชั้นป้องกันปรสิต #ป้องกันปรสิตร้ายที่อันตรายถึงชีวิต